วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การผลิตมังคุดคุณภาพและได้มาตรฐาน

                 การจะซื้อมังคุดมากินสัก 1 กิโล ใคร ๆ ก็อยากได้มังคุดที่ได้รสชาติหวานชุ่มคอ ไม่ต้องพบกับเนื้อมังคุดเข้ายาง การมองเห็นผิวมังคุดแล้วไม่อยากจับหรือบางคนไม่กล้าหยิบมากินเลยเพราะมียางปะทุอยู่บนเปลือกเต็มไปหมด ปัญหานี้โดยรวม ๆ ก็ส่งผลกระทบกันทั้งสองฝ่าย ทั้งเจ้าของสวน และผู้บริโภคที่จะซื้อมังคุดมากิน เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 ผู้เขียนได้จัดกระบวนการถอดบทเรียนเพื่อค้นหาองค์ความรู้ที่จำเป็นในการผลิตมังคุดที่ให้ได้คุณภาพจริง ๆ ในการดำเนินการนั้นได้รับการสนับสนุนจากจังหวัด ภายใต้ยุทธศาตร์ที่ 1 ของจังหวัด ก็วางแผนการจัดการความรู้เรื่องนี้ โดยจัดทำแผน กำหนดเป้าหมาย บ่งชี้ความรู้ที่ต้องการในเรื่องการทำให้มังคุดคุณภาพดีนั้นคำนึงถึงประเด็นอะไรบ้าง กำหนดค้นหาแหล่งความรู้  และก็ได้กำหนดพื้นที่ที่จะไปเอาองค์ความรู้มา ในพื้นที่ 3 อำเภอ คืออำเภอลานสกา อำเภอท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  กำหนดพื้นที่ในโซนที่แตกต่างกัน ใน 3 อำเภอที่กล่าวแล้ว เพื่อให้ได้ความแตกต่างวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร ได้องค์ความรู้ดังนี้

 

ความรู้ที่จำเป็น :

Ÿ การเตรียมต้นมังคุดหลังจากการเก็บเกี่ยว

Ÿ การเตรียมต้นมังคุดก่อนการออกดอก

Ÿ การดูแลระยะติดผล

Ÿ การบริหารจัดการระยะเก็บเกี่ยว

ความรู้ 4 ประเด็นหลักข้างต้นมีความเชื่อมโยงกัน เกษตรกรต้องเรียนรู้ สังเกต และต้องปฎิบัติ โดยจุดหมายปลายทางที่ต้องการ เพื่อให้ได้ผลผลิตมังคุดที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาดและความพอใจของผู้บริโภค ความรู้ 4 ประเด็น ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนโครงสร้างหลัก ในแต่ละขั้นตอนองค์รวมหลักนี้ ยังมีกิจกรรมย่อย ๆ ภายใน อีกมากมายที่พี่น้องเกษตรกรควรศึกษาเพิ่มเติม เรียนรู้จากการปฏิบัติ สังเกต พฤติกรรมมังคุดในสวนของตนเอง จากการจัดการความรู้พบว่า มีปัจจัยหลาย ๆ ด้านที่มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน การปฏิบัติของเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จแต่ละราย ทดสอบทดลองแตกต่างกันไป ใน 4 ประเด็นเหล่านี้เป็นความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ ตามสภาพความเป็นจริงของสวน เพื่อเป้าหมาย “การผลิตมังคุดคุณภาพและได้มาตรฐาน”


bks_01  bks_02
bks_03
bks_06

ขั้นตอนการผลิต “มังคุดคุณภาพและได้มาตรฐาน

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมต้นมังคุดหลังการเก็บเกี่ยว

       1.1. การตัดแต่งกิ่ง มี 2 กิจกรรม

             1.1.1.การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่ม ตัดแต่งกิ่งแขนง กิ่งทับซ้อน กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และสะดวกในการเก็บเกี่ยว กิ่งล่างสุดไว้สูงจากพื้นดิน 1.5 ม. (ไว้กิ่งประมาณ 25 กิ่งต่อต้น)

             1.1.2. การตัดแต่งกิ่งนอกทรงพุ่ม เพื่อไม่ให้ทรงพุ่มปลายกิ่งระหว่างต้นชนกันและช่วยลดน้ำหนักกิ่ง ป้องกันการหักโค่น หากน้ำหนักมากกิ่งจะหักฉีกได้ง่ายเมื่อมีผล หากชนกันจะส่งผลต่อการออกดอกและติดผล เพราะบังแสงกันเอง

     1.2. การตัดยอด หากต้นมังคุดสูงเกินกว่า 6 เมตร จากพื้นดินควรตัดยอดเพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และเพื่อให้พุ่มโปร่งสามารถรับแสงแดดได้ทั่วถึง ลำต้นจะสมบูรณ์ส่งผลต่อคุณภาพผลผลิต การตัดยอดตรงแผลตัดเฉียง 45 องศา และทาแผลด้วยสีน้ำมัน เพื่อป้องกันเชื้อรา การตัดยอดจะส่งผลให้กิ่งที่ต้องการโตสมบูรณ์ใกล้เคียงกัน หากไว้ยอดกิ่งจะเล็กลดหลั่นกันไป

    1.3 การให้ปุ๋ย ในขั้นตอนนี้เพื่อบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น ตามที่เกษตรกรผู้ปฎิบัติได้ให้ข้อมูลไว้ คือ

             - ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1-2 ก.ก./ ต้น

             - ใส่ปุ๋ยหมักแห้ง 25-30 ก.ก./ ต้น เพื่อช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของดินและมังคุดสามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                (เกษตรกรบางรายใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว)

   1.4. การให้น้ำ ในขั้นตอนนี้เพื่อช่วยในการละลายปุ๋ย สร้างความชุ่มชื้นบริเวณโคนต้น ให้น้ำพอเหมาะสังเกตความชื้นดิน

   1.5. ระวังศัตรู ช่วงนี้มังคุดออกยอดอ่อน จะมีหนอนกัดกินยอดอ่อน ใบอ่อน และจะกินในตอนกลางคืน ควรใช้วิธีไล่ด้วยน้ำหมักสมุนไพร
          น้ำส้มควันไม้

   1.6 วัชพืช ใช้วิธีตัดไม่ควรใช้สารเคมีฉีดพ่น เพราะเศษวัชพืชสามารถนำมาคลุมบริเวณโคนเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ลดจำนวนครั้งของการให้น้ำลง ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในระบบการให้น้ำได้ระดับหนึ่ง
bks_04 bks_05 

 

ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมก่อนการออกดอก

     2.1. การใส่ปุ๋ยเร่งดอก กรณีต้นสมบูรณ์เกษตรกรบางรายไม่ใส่ปุ๋ย หากจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24, 9-24-24
             อัตรา    2-3 ก.ก./ ต้น 

                ให้น้ำพอสมควรเพื่อช่วยละลายปุ๋ย ระวังให้น้ำมากจะออกยอดอ่อนแทนการออกดอก

    2.2. หลังออกดอกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ ระวังเพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง มดดำ เพลี้ยอ่อน เข้าทำลาย ไล่โดยใช้กำมะถันผงรมควัน

bks_12 bks_08
bks_11 bks_13

ขั้นตอนที่ 3 การดูแลระยะติดผล

      3.1 ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15- หรือ 13-13-21 อัตรา 2 ก.ก. / ต้น (คำนวณตามอายุของต้นด้วย) หว่านรอบโคนต้น
          ตามด้วยการให้น้ำ กวาดใบที่หล่นคลุมบริเวณโคน เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นบริเวณโคนต้นในระยะติดผลนี้
         เกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จแนะนำว่าไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวจัดการบริเวณโคนต้นโดยเฉพาะการกำจัดวัชพืช
          (ข้อมูลจากเกษตรกร : นับจากช่วงดอกบานแล้ว นับจนถึงผลสุกประมาณ 105 วัน)
bks_10 bks_09 

       3.2. การสร้างคุณภาพผล

           3.2.1. การป้องกันเนื้อแก้ว/ยางไหล น้ำเป็นปัจจัยสำคัญมากต่อปัญหาการเกิดเนื้อแก้วและยางไหล
เกษตรกรต้องระมัดระวัง เรื่องน้ำเป็นพิเศษ ด้วยการให้น้ำที่เหมาะสมในช่วงที่ติดผลแล้ว ที่พิเศษในทางปฏิบัติ
ควรเริ่มที่การชักนำให้ออกดอกโดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้มังคุดสามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนที่ฝนจะตกชุก หากมังคุดได้รับน้ำ
ปริมาณมากจะดูดน้ำไว้มาก ทำให้ผลประทุยางและเนื้อเป็นแก้ว การควบคุมน้ำเป็นประเด็นสำคัญต้องให้น้ำสม่ำเสมอ เ
มื่อฝนตกจะไม่มีผลกระทบมากเกินไปในสวนที่อยู่ที่ต่ำ ต้องจัดระบบทางระบายน้ำ เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนให้
ได้รวดเร็วไม่แช่ขัง

ข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์เกษตรกรเมื่อเจอภาวะฝนตกสวนที่ได้รับผลกระทบน้อย พบว่า มีลักษณะ ดังนี้
คือ สวนที่ให้น้ำสม่ำเสมอ สวนที่เป็นดินทราย สวนที่มีพื้นที่ลาดเอียงน้ำไหลได้เร็ว ส่วนสวนดินเหนียว สวนที่ต่ำ
จะได้รับผลกระทบสูง

         3.2.2.การจัดการป้องกันให้ผิวมังคุดปราศจากตำหนิ ผิวลาย ต้องเริ่มป้องกันตั้งแต่เริ่มออกดอก ควรใช้สารชีวภาพ
ป้องกันเพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงซ่อนใต้กลีบ หากเข้าทำลายจะส่งผลให้กลีบขั้วเล็กใหญ่ไม่เท่ากันผลไม่สวยงาม

ขั้นตอนที่ 4 : การเก็บเกี่ยว

          4.1. ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เกษตรกรเรียกว่า ระยะแตกสายเลือด (มองเห็นผิวเป็นเส้นเหมือนสายเลือด) บางพื้นที่
จะเรียกช่วงเหมาะสมการเก็บเกี่ยวนี้ว่า “ระยะหม้อใหม่”

          4.2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวที่ดีและเหมาะสมจะช่วยลดความกระทบกระเทือนต่อผลมังคุด ที่เกษตรกรใช้ในปัจจุบัน
และเหมาะสม คือ จำปาสอยทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก 5 แฉกเหลาลบความคมเรียบร้อย และเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งคือ
เครื่องมือสอยแบบถุงกาแฟ

          4.3. แรงงานเป็นปัญหาที่สำคัญที่เกษตรกรพบ คือแรงงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวมังคุด ไม่เข้าใจ และไม่ใส่ใจต่อการรักษาคุณภาพผลมังคุด จะทำงานเพื่อเอาปริมาณงานเป็นหลัก เพื่อให้ได้รับค่าจ้างสูง ส่งผลมากต่อคุณภาพมังคุดแม้นเจ้าของสวนปฏิบัติในทุกขั้นตอนมาดีแล้วก็ตาม เป็นปัญหากับเจ้าของสวนมากในปัจจุบัน

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ