วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การผลิตมังคุดคุณภาพและได้มาตรฐาน

                 การจะซื้อมังคุดมากินสัก 1 กิโล ใคร ๆ ก็อยากได้มังคุดที่ได้รสชาติหวานชุ่มคอ ไม่ต้องพบกับเนื้อมังคุดเข้ายาง การมองเห็นผิวมังคุดแล้วไม่อยากจับหรือบางคนไม่กล้าหยิบมากินเลยเพราะมียางปะทุอยู่บนเปลือกเต็มไปหมด ปัญหานี้โดยรวม ๆ ก็ส่งผลกระทบกันทั้งสองฝ่าย ทั้งเจ้าของสวน และผู้บริโภคที่จะซื้อมังคุดมากิน เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 ผู้เขียนได้จัดกระบวนการถอดบทเรียนเพื่อค้นหาองค์ความรู้ที่จำเป็นในการผลิตมังคุดที่ให้ได้คุณภาพจริง ๆ ในการดำเนินการนั้นได้รับการสนับสนุนจากจังหวัด ภายใต้ยุทธศาตร์ที่ 1 ของจังหวัด ก็วางแผนการจัดการความรู้เรื่องนี้ โดยจัดทำแผน กำหนดเป้าหมาย บ่งชี้ความรู้ที่ต้องการในเรื่องการทำให้มังคุดคุณภาพดีนั้นคำนึงถึงประเด็นอะไรบ้าง กำหนดค้นหาแหล่งความรู้  และก็ได้กำหนดพื้นที่ที่จะไปเอาองค์ความรู้มา ในพื้นที่ 3 อำเภอ คืออำเภอลานสกา อำเภอท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  กำหนดพื้นที่ในโซนที่แตกต่างกัน ใน 3 อำเภอที่กล่าวแล้ว เพื่อให้ได้ความแตกต่างวิธีการปฏิบัติของเกษตรกร ได้องค์ความรู้ดังนี้

 

ความรู้ที่จำเป็น :

Ÿ การเตรียมต้นมังคุดหลังจากการเก็บเกี่ยว

Ÿ การเตรียมต้นมังคุดก่อนการออกดอก

Ÿ การดูแลระยะติดผล

Ÿ การบริหารจัดการระยะเก็บเกี่ยว

ความรู้ 4 ประเด็นหลักข้างต้นมีความเชื่อมโยงกัน เกษตรกรต้องเรียนรู้ สังเกต และต้องปฎิบัติ โดยจุดหมายปลายทางที่ต้องการ เพื่อให้ได้ผลผลิตมังคุดที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาดและความพอใจของผู้บริโภค ความรู้ 4 ประเด็น ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนโครงสร้างหลัก ในแต่ละขั้นตอนองค์รวมหลักนี้ ยังมีกิจกรรมย่อย ๆ ภายใน อีกมากมายที่พี่น้องเกษตรกรควรศึกษาเพิ่มเติม เรียนรู้จากการปฏิบัติ สังเกต พฤติกรรมมังคุดในสวนของตนเอง จากการจัดการความรู้พบว่า มีปัจจัยหลาย ๆ ด้านที่มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน การปฏิบัติของเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จแต่ละราย ทดสอบทดลองแตกต่างกันไป ใน 4 ประเด็นเหล่านี้เป็นความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ ตามสภาพความเป็นจริงของสวน เพื่อเป้าหมาย “การผลิตมังคุดคุณภาพและได้มาตรฐาน”


bks_01  bks_02
bks_03
bks_06

ขั้นตอนการผลิต “มังคุดคุณภาพและได้มาตรฐาน

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมต้นมังคุดหลังการเก็บเกี่ยว

       1.1. การตัดแต่งกิ่ง มี 2 กิจกรรม

             1.1.1.การตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่ม ตัดแต่งกิ่งแขนง กิ่งทับซ้อน กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และสะดวกในการเก็บเกี่ยว กิ่งล่างสุดไว้สูงจากพื้นดิน 1.5 ม. (ไว้กิ่งประมาณ 25 กิ่งต่อต้น)

             1.1.2. การตัดแต่งกิ่งนอกทรงพุ่ม เพื่อไม่ให้ทรงพุ่มปลายกิ่งระหว่างต้นชนกันและช่วยลดน้ำหนักกิ่ง ป้องกันการหักโค่น หากน้ำหนักมากกิ่งจะหักฉีกได้ง่ายเมื่อมีผล หากชนกันจะส่งผลต่อการออกดอกและติดผล เพราะบังแสงกันเอง

     1.2. การตัดยอด หากต้นมังคุดสูงเกินกว่า 6 เมตร จากพื้นดินควรตัดยอดเพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และเพื่อให้พุ่มโปร่งสามารถรับแสงแดดได้ทั่วถึง ลำต้นจะสมบูรณ์ส่งผลต่อคุณภาพผลผลิต การตัดยอดตรงแผลตัดเฉียง 45 องศา และทาแผลด้วยสีน้ำมัน เพื่อป้องกันเชื้อรา การตัดยอดจะส่งผลให้กิ่งที่ต้องการโตสมบูรณ์ใกล้เคียงกัน หากไว้ยอดกิ่งจะเล็กลดหลั่นกันไป

    1.3 การให้ปุ๋ย ในขั้นตอนนี้เพื่อบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น ตามที่เกษตรกรผู้ปฎิบัติได้ให้ข้อมูลไว้ คือ

             - ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1-2 ก.ก./ ต้น

             - ใส่ปุ๋ยหมักแห้ง 25-30 ก.ก./ ต้น เพื่อช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของดินและมังคุดสามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                (เกษตรกรบางรายใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว)

   1.4. การให้น้ำ ในขั้นตอนนี้เพื่อช่วยในการละลายปุ๋ย สร้างความชุ่มชื้นบริเวณโคนต้น ให้น้ำพอเหมาะสังเกตความชื้นดิน

   1.5. ระวังศัตรู ช่วงนี้มังคุดออกยอดอ่อน จะมีหนอนกัดกินยอดอ่อน ใบอ่อน และจะกินในตอนกลางคืน ควรใช้วิธีไล่ด้วยน้ำหมักสมุนไพร
          น้ำส้มควันไม้

   1.6 วัชพืช ใช้วิธีตัดไม่ควรใช้สารเคมีฉีดพ่น เพราะเศษวัชพืชสามารถนำมาคลุมบริเวณโคนเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ลดจำนวนครั้งของการให้น้ำลง ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในระบบการให้น้ำได้ระดับหนึ่ง
bks_04 bks_05 

 

ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมก่อนการออกดอก

     2.1. การใส่ปุ๋ยเร่งดอก กรณีต้นสมบูรณ์เกษตรกรบางรายไม่ใส่ปุ๋ย หากจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24, 9-24-24
             อัตรา    2-3 ก.ก./ ต้น 

                ให้น้ำพอสมควรเพื่อช่วยละลายปุ๋ย ระวังให้น้ำมากจะออกยอดอ่อนแทนการออกดอก

    2.2. หลังออกดอกแล้ว ให้น้ำสม่ำเสมอ ระวังเพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยแป้ง มดดำ เพลี้ยอ่อน เข้าทำลาย ไล่โดยใช้กำมะถันผงรมควัน

bks_12 bks_08
bks_11 bks_13

ขั้นตอนที่ 3 การดูแลระยะติดผล

      3.1 ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15- หรือ 13-13-21 อัตรา 2 ก.ก. / ต้น (คำนวณตามอายุของต้นด้วย) หว่านรอบโคนต้น
          ตามด้วยการให้น้ำ กวาดใบที่หล่นคลุมบริเวณโคน เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นบริเวณโคนต้นในระยะติดผลนี้
         เกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จแนะนำว่าไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวจัดการบริเวณโคนต้นโดยเฉพาะการกำจัดวัชพืช
          (ข้อมูลจากเกษตรกร : นับจากช่วงดอกบานแล้ว นับจนถึงผลสุกประมาณ 105 วัน)
bks_10 bks_09 

       3.2. การสร้างคุณภาพผล

           3.2.1. การป้องกันเนื้อแก้ว/ยางไหล น้ำเป็นปัจจัยสำคัญมากต่อปัญหาการเกิดเนื้อแก้วและยางไหล
เกษตรกรต้องระมัดระวัง เรื่องน้ำเป็นพิเศษ ด้วยการให้น้ำที่เหมาะสมในช่วงที่ติดผลแล้ว ที่พิเศษในทางปฏิบัติ
ควรเริ่มที่การชักนำให้ออกดอกโดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้มังคุดสามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนที่ฝนจะตกชุก หากมังคุดได้รับน้ำ
ปริมาณมากจะดูดน้ำไว้มาก ทำให้ผลประทุยางและเนื้อเป็นแก้ว การควบคุมน้ำเป็นประเด็นสำคัญต้องให้น้ำสม่ำเสมอ เ
มื่อฝนตกจะไม่มีผลกระทบมากเกินไปในสวนที่อยู่ที่ต่ำ ต้องจัดระบบทางระบายน้ำ เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนให้
ได้รวดเร็วไม่แช่ขัง

ข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์เกษตรกรเมื่อเจอภาวะฝนตกสวนที่ได้รับผลกระทบน้อย พบว่า มีลักษณะ ดังนี้
คือ สวนที่ให้น้ำสม่ำเสมอ สวนที่เป็นดินทราย สวนที่มีพื้นที่ลาดเอียงน้ำไหลได้เร็ว ส่วนสวนดินเหนียว สวนที่ต่ำ
จะได้รับผลกระทบสูง

         3.2.2.การจัดการป้องกันให้ผิวมังคุดปราศจากตำหนิ ผิวลาย ต้องเริ่มป้องกันตั้งแต่เริ่มออกดอก ควรใช้สารชีวภาพ
ป้องกันเพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงซ่อนใต้กลีบ หากเข้าทำลายจะส่งผลให้กลีบขั้วเล็กใหญ่ไม่เท่ากันผลไม่สวยงาม

ขั้นตอนที่ 4 : การเก็บเกี่ยว

          4.1. ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เกษตรกรเรียกว่า ระยะแตกสายเลือด (มองเห็นผิวเป็นเส้นเหมือนสายเลือด) บางพื้นที่
จะเรียกช่วงเหมาะสมการเก็บเกี่ยวนี้ว่า “ระยะหม้อใหม่”

          4.2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวที่ดีและเหมาะสมจะช่วยลดความกระทบกระเทือนต่อผลมังคุด ที่เกษตรกรใช้ในปัจจุบัน
และเหมาะสม คือ จำปาสอยทำจากไม้ไผ่ผ่าซีก 5 แฉกเหลาลบความคมเรียบร้อย และเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งคือ
เครื่องมือสอยแบบถุงกาแฟ

          4.3. แรงงานเป็นปัญหาที่สำคัญที่เกษตรกรพบ คือแรงงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวมังคุด ไม่เข้าใจ และไม่ใส่ใจต่อการรักษาคุณภาพผลมังคุด จะทำงานเพื่อเอาปริมาณงานเป็นหลัก เพื่อให้ได้รับค่าจ้างสูง ส่งผลมากต่อคุณภาพมังคุดแม้นเจ้าของสวนปฏิบัติในทุกขั้นตอนมาดีแล้วก็ตาม เป็นปัญหากับเจ้าของสวนมากในปัจจุบัน

เหม็งผรา....เครื่องยาภูมิปัญญาชาวบ้าน

              ผมมักเอาคำสองคำนี้  ถามที่ประชุมของเกษตรกรเสมอ  เพื่อความสนุกสนาน  เพราะในการประชุม
ในแต่ละเวที  หรือในแต่ละเรื่อง   มีคนเข้าประชุม  40 - 50 คน  เมื่อผมถามจะมีคนรู้จักประมาณ  4 - 5 คน 
ส่วนใหญ่ก็เป็น ผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า ผู้แก่  แล้วก็สร้างกัลยาณมิตรได้เป็นอย่างดี  และ สามารถจุดประกายแห่ง
การเรียนรู้ได้ เพราะเมื่อถามและมีคนรู้คนที่ไม่รู้ก็จะอยากรู้  ซึ่งเวทีจะเริ่มเกิดขึ้นครับ
     
              คงจะสร้างความ มึนงง....ให้กับผู้อ่านบันทึกนี้ไม่น้อยกับคำแปลก ๆ ที่ผมบันทึกขึ้นมา  ก็ขอบอกนะครับ
ว่าสิ่งนี้เป็นภูมิปัญญาของคนสมัยรุ่นปู่ย่า ตายาย    ที่สร้างสมเรียนรู้ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน นำสิ่งที่ใช้
ในวิถีชีวิตมาต่อยอดใช้ประโยชน์ต่อกันไป

              ผมขอเริ่มอธิบายนะครับ  คนสมัยก่อนนั้นในครัว  มีเตาไฟที่สร้างด้วยปีกไม้สี่เหลี่ยมแล้วเอาดินไปใส่ไว้
เพื่อวางเตาในการหุงต้ม  ปรุงอาหาร  ส่วนเหนือขึ้นไปบนเตาไฟจะมีชั้นวางของ   ทำด้วยฟากไม้ไผ่ผูกด้วย
หวายหรือเถาวัลย์  แขวนไว้กับหลังคา ความสูงจากเตาไฟไว้พอประมาณ(พ้นจากเปลวไฟ)  ใช้สำหรับวาง
อาหารเพื่อให้แห้งแห้ง  เช่นพริกขี้หนู  ปลาแห้ง  เนื้อแห้ง กล้วย ป้องกันการบูดเน่า  หรือวัสดุประสงค์เพื่อรม
ควัน  ป้องกัน แมลงวัน  มด มอด

              การหุงต้มสมัยก่อนนั้นใช้ไม้ฟืน  ซึ่งมีไม้หลายชนิดที่นำมาทำฟืน  เมื่อหุงต้มด้วยไม้ฟืนแน่นอนครับเกิด
ควันไฟ  และชั้นวางของดังกล่าวทางภาคใต้เรียกว่า "ผรา" ครับ  ส่วนควันไฟเมื่อผ่าน "ผรา" ก็เกิดเขม่าควันติด
เป็นสีดำ  ติดนาน ๆ ก็หนาเตอะครับ  ไปจับก็มือดำมิดหมีแหละครับ  ชาวบ้าน เรียกว่า "เหม็งผรา" ครับ   และที่
ว่านี้ครับคือภูมิปัญญา คนสมัยก่อนและฉลาดใช้  เพราะ"เหม็งผรา"  เป็นตัวเครื่องยาชนิดหนึ่งที่ไปปรุงยาได้อีก
หลายชนิด  ที่ผมจำได้แน่ ๆ เขาใช้รักษาแผลสัตว์เลี้ยง  ทั้งแผลสด แผลเปื่อย  ป้องกันแมลงวันได้อย่างดีเลยครับ 

             ที่ "ผรา" นั้นเป็นจุดรวมของ ควันยางไม้จากไม้ฟืน  ไอน้ำจากเครื่องเทศเครื่องปรุงอาหาร  พืชผักที่ปรุงอาหาร
ล้วนเป็นที่สะสมของสารจากพืช  จากปลา จากเนื้อ  คนโบราณจึงนำมันมาทำประโยชน์เป็นเครื่องยาโบราณครับ

น้ำมันดิน...ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ตอนผมเรียนชั้นประถม น้องสาวยังเล็กชอบซุกซนเดินตามผมบ้าง พ่อและแม่บ้าง วันหนึ่งได้ยินเสียงเธอร้อง เสียงดังแบบตกใจอย่างสุดขีด ผมอยู่หลังบ้านรีบวิ่งไปดู ปรากฎว่าน้องสาวเดินไปขาเหยียบหลุมตอขนุนที่สุมไฟ ไว้เพื่อให้ไฟเผาลงไปถึงราก โดยไม่ต้องออกแรงขุดมันออกเพราะใหญ่มาก คงขุดกันไม่ไหว ขาข้างหนึ่งของน้องสาวโดนขี้เถ้าร้อนและถ่านไฟบางส่วน ทำให้น้องเจ็บปวดอย่างน่าสงสาร ร้องไห้ตลอดเวลา เท้าผุผองทันที เราต่างก็ปลอบโยนอุ้มเอาใจเธอกันตลอดหลายวัน ผู้เฒ่าผู้แก่ก็แนะนำยาสมุนไพรมารักษา แผลกันหลายชนิดโดยไม่ได้ไปหาหมอ เนื่องจากการเดินทางค่อนข้างไปลำบากในสมัยนั้น เพราะจะต้องเดิน ทางมาขึ้นรถไฟก่อนที่สถานีรถไฟตลาดนาบอน เมื่อไปหาหมอที่ทุ่งสงหากคนไข้เยอะก็จะตรวจได้ล่าช้าและแน่ นอนจะกลับบ้านไม่ทันรถไฟ ตอนบ่าย 3 โมง(ประมาณนั้น) ซึ่งจะต้องนอนค้างคืนและไม่รู้ว่าจะนอนที่ไหนด้วย ก็เลยรักษากันตามมีตามเกิดในหมู่บ้าน หลังจากแผลผุผองของน้องสาวเริ่มดีขึ้นตามลำดับจากสมุนไพรที่เอามาพอกแผล แต่ผมจำไม่ได้ครับว่า เป็นอะไรบ้าง ที่ผมจำได้แม่นอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ซับซ้อนอะไร ก็คือตำรา "น้ำมันดิน" ของพ่อซึ่งท่านจัดหาตัวยาเอง

วันนั้นพ่อชวนผมไปเอาดินเหนียวตอนแรกผมไม่ทราบว่าเอามาทำอะไร ดินเหนียวที่พ่อไปเลือกผม เห็นพ่อขุดบริเวณลึกเข้าไปจากทางเดินและอยู่ใกล้ ๆ ทางน้ำไหลแต่จะเลือกเอาดินเหนียวที่สะอาดขุดลงไปลึก ๆ เป็นบริเวณที่ผมกับเพื่อนมาเก็บลูกรังลูกกลม ๆ ไปยิงกับหนังสติก เอาส่วนที่ไม่จับตัวเป็นก้อนคือเลือกเอาที่ พอหมาด ๆ สามารถบี้ให้ละเอียดแล้วโปรยลงบนภาชนะได้ พ่อเอาดินเหนียวกลับมาบ้านและบี้ให้แตก ซึ่งมัน จะแห้งไปเรื่อย ๆ เลือกเอาสิ่งปะปนอื่น ๆ ออกไป พ่อเอาดินเหนียวผึ่งลมไว้แล้วไปที่สวนหลังบ้าน สอย มะพร้าวเลือกผลมะพร้าวห้าว(เปลือกของผลไม่มีสีเขียวปะปนแล้ว) เอามาปอกเปลือกแล้วผ่า 2 ซีก ขูดด้วย กระต่าย (พ่อทำความสะอาดกระต่ายก่อนขูดมะพร้าวให้สะอาดกว่าขูดเพื่อแกงปกติ) ได้แล้วก็เอามะพร้าวที่ขูด แล้วทั้งหมดมาคลุกเคล้ากับดินเหนียวจนเข้ากันอย่างดี แล้วก็หมักปิดฝาไว้

รุ่งเช้าอีกวัน เมื่อแดดออก พ่อเอาดินเหนียวที่หมักไว้มาปั้นเป็นก้อนขนาดประมาณถ่านไฟฉายขนาด ใหญ่ ใส่จานสังกะสีไปวางตากแดดไว้และคอยระวังไม่ให้โดนสิ่งสกปรก ผมสังเกตเมื่อแดดเริ่มจัดขึ้นช่วง เที่ยงวันถึงบ่ายก็จะมีน้ำมันไหลออกมาจากก้อนดินเหนียว พ่อจะคอยไปตะแคงจานรินใส่ขวดสะอาดเล็ก ๆ ทำ อยู่อย่างนี้เรื่อย ๆ ทุกวัน จนไม่มีน้ำมันออกมาจากก้อนดินเหนียวก็หยุด

น้ำมันที่ได้พ่อเรียกว่า "น้ำมันดิน" ใช้ทาแผลรักษาแผลไฟไหม้ นำร้อนลวก ทำให้แผลหายเร็วและไม่ เกิดแผลเป็น ก็เอาทาให้น้องหลังอาบน้ำทุกครั้ง จนหายเป็นปกติ ผมถามน้องว่าเวลาทาเป็นยังไง แกบอกว่า เย็น ๆ ที่แผล แต่มันเหนอะๆ รำคาญ (บ่นตามประสาเด็ก ๆ) ผลก็คือแผลที่ขาของน้องผมไม่ปรากฎแผลเป็นให้ เห็นเลยนะครับ เหมือนกับคนอื่น ๆ ทั่วไป ไม่บอกไม่มีใครรู้ว่าเคยโดนไฟไหม้

ผมลองมาทบทวนสถานที่ที่พ่อไปเลือกดินเหนียว เป็นที่ที่มีลูกรัง และเป็นดินเหนียวสีแดง อยู่ห่างจาก การรบกวน คน หรือสัตว์ที่จะทำให้สกปรก สีสดใสเป็นธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาที่ผมจำได้ไม่ลืมตั้งแต่เด็กครับ